Go 101 ตัวแปรในภาษาโก (Go Variables)
บทความก่อนหน้านี้เราได้ทำการติดตั้งภาษาโก และติดตั้ง VSCode เครื่องมือสำหรับการเขียนโปรแกรมพร้อมกับเขียนและรันโปรแกรม Hello World ตามธรรมเนียมกันไปแล้วนั้น บทความนี้เราก็มาต่อด้วยเรื่องตัวแปรในภาษาโก (Variables) หลักการประกาศตัวแปร การกำหนดค่าให้ตัวแปร ชนิดข้อมูลและ Keyword ของภาษาโกกัน.
การประกาศตัวแปร (Declaration)
รูปแบบ var variable type เริ่มต้นด้วย var ตามด้วยชื่อตัวแปร และชนิดข้อมูลของตัวแปรเช่น ตัวอักษร ตัวเลข
- จากบรรทัดที่ 7 ประกาศตัวแปรชื่อ name เป็นชนิด string เอาไว้เก็บข้อมูลประเภทตัวอักษร เช่น “DekDoyDev”
- จากบรรทัดที่ 8 ประกาศตัวแปรชื่อ age เป็นชนิด int เอาไว้เก็บข้อมูลตัวเลขจำนวนเต็ม เช่น 99
- จากบรรทัดที่ 10 ประกาศตัวแปรชื่อ firstName, lastName, address ทั้ง 3 ตัวแปรเป็นชนิด string เอาไว้เก็บข้อมูลตัวอักษร เป็นการประกาศตัวแปรหลายๆตัวแปรที่เป็นชนิดเดียวกันพร้อมกันได้เลย
การกำหนดค่าให้ตัวแปร
- จากบรรทัดที่ 12 เป็นการกำหนดค่าให้ตัวแปรชื่อ name ให้มีค่าเท่ากับ “DekDoyDev” ซึ่งเป็นข้อมูลตัวอักษร
- จากบรรทัดที่ 13 เป็นการกำหนดค่าให้ตัวแปรชื่อ age ให้มีค่าเท่ากับ 39 ซึ่งเป็นจำนวนตัวเลขจำนวนเต็ม
การประกาศตัวแปรพร้อมกำหนดค่า
- จากบรรทัดที่ 7 เป็นการประกาศตัวแปรชื่อ name เป็นชนิด string พร้อมกำหนดค่าให้เท่ากับ “DekDoyDev”
- จากบรรทัดที่ 8 เป็นการประกาศตัวแปรชื่อ age เป็นชนิด int ตัวเลขจำนวนเต็ม พร้อมกำหนดค่าให้เท่ากับ 39
- จากบรรทัดที่ 10 เป็นการประกาศตัวแปรชื่อ firstName เป็นชนิด string พร้อมกำหนดค่าให้เท่ากับ “DekDekDev.Com”
- จากบรรทัดที่ 10 เป็นการประกาศตัวแปรชื่อ lastName เป็นชนิด string พร้อมกำหนดค่าให้เท่ากับ “GO101”
- จากบรรทัดที่ 10 เป็นการประกาศตัวแปรชื่อ address เป็นชนิด string พร้อมกำหนดค่าให้เท่ากับ “123/4 Chaingrai”
- จากบรรทัดที่ 12 และ 13 จะสังเกตุได้ว่าไม่ได้กำหนดชนิดข้อมูลซึ่งสามารถทำได้โดยภาษาโกจะกำหนดให้อัตโนมัติตามค่าที่เรากำหนดในที่นี้ province จะเป็นชนิด string และมีค่าเท่ากับ “Chaingrai” และ price เป็นชนิด int มีค่าเท่ากับ 200
การประกาศตัวแปรพร้อมกำหนดค่าอย่างสั้น (ชอบมากๆ)
ด้วยเครื่องหมาย := ทำให้เราสามารถประกาศตัวแปรพร้อมกำหนดค่าอย่างสั้นได้ง่ายๆ
- จากบรรทัดที่ 8 ไม่ต้องมี var นำหน้า name ก็มีค่าเท่ากับ var name = “DekDoyDev” รวมถึงบรรทัดที่ 9 – 13
- จากบรรทัดที่ 14 ประกาศตัวแปร price ให้มีค่าเท่ากับ 200.55 เป็นชนิด float64 ซึ่งเป็นจำนวนทศนิยม
การประกาศตัวแปรแบบ Block
ด้วยการประกาศ var ( … ) จากบรรทัดที่ 9 – 14 เป็นการประกาศตัวแปรและกำหนดค่าไว้ใน block ซึ่งส่วนตัวชอบรูปแบบนี้เพราะอ่านโค๊ดง่ายดูเป็นระเบียบ
สรุปโค๊ดตัวอย่างพร้อมรันดูผลลัพธ์
จากตัวอย่าง โค๊ดบรรทัดที่ 8 – 20 ก็เป็นวิธีการประกาศตัวแปร กำหนดค่าตัวแปร ประกาศพร้อมกำหนดค่าตัวแปร ประกาศและกำหนดค่าตัวแปรหลายๆตัวพร้อมๆกัน การประกาศตัวแปรใน block ส่วนโค๊ดบรรทัดที่ 22 – 28 เป็นการแสดงข้อมูลของตัวแปรออกมายัง TERMINAL ของ VSCode หวังว่าจะมีประโยชน์บ้างสำหรับคนที่สนใจนะครับ.
ติดต่อ-สอบถาม