รับทำเว็บไซต์ WordPress คืออะไร ทำเว็บไซต์อะไรได้บ้าง


WordPress คืออะไร ทำเว็บไซต์อะไรได้บ้าง? พร้อมข้อดี-ข้อเสีย

WordPress คืออะไร ?

WordPress คือ โอเพนซอร์ซเพลตฟอร์มเว็บสำเร็จรูป สำหรับสร้างและจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์ (Contents Management System : CMS) สามารถนำ WordPress ไปรับทำเว็บไซต์ประเภทต่างๆ จัดหน้าเว็บตามที่ต้องการ มีระบบหลังบ้านให้เราจัดการบทความ มี Theme ให้เราทำเว็บให้สวยงาม และมี Plugin ที่ช่วยเสริมความสามารถของ WordPress

เดิมที WordPress เกิดมาเพื่อเป็นโปรแกรมช่วยเขียนบล็อกเท่านั้น แต่ระยะหลังสามารถถูกพัฒนามาเป็นเพลตฟอร์มในการทำเว็บไซต์ ซึ่งเป็น CMS ที่มีคนใช้งานมากที่สุดในโลก

WordPress ทำเว็บไซต์อะไรได้บ้าง? เป็นคำถามที่หลายคนมักจะถามเสมอๆ ก่อนอื่นผมขอเกริ่นก่อนว่า WordPress เป็นเครื่องมือทำเว็บไซต์ประเภท CMS ที่สามารถทำเว็บไซต์ได้หลากหลายมาก โดยไม่ต้องรู้เรื่องการเขียนโปรแกรมใดๆเลย ตั้งแต่เว็บบล็อคเขียนบทความ จนถึงเว็บใหญ่ๆอย่างเว็บ E-commerce, เว็บ Marketplace ในบทความนี้ผมจะมาอธิบายว่า ทำเว็บด้วย WordPress สามารถทำเว็บไซต์อะไรได้บ้าง?

ด้วยความที่ WordPress มีธีมเพลตสวยๆให้เลือกหลายพันธีม มีปลั๊กอินหรือส่วนเสริมให้โหลดฟรีๆได้เยอะ ทำให้การจะทำเว็บไซต์ๆ นึง ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพราะเราสามารถรับทำเว็บไซต์ด้วยตัวเองแบบฟรีๆ เรามาดูกันว่า WordPress สามารถทำเว็บไซต์อะไรได้บ้าง

รู้จัก WordPress

ภาพรวม

การติดตั้ง ใช้เวลาติดตั้งเพียง 5 นาที ก็ได้หน้าเว็บไซต์พื้นฐานได้แล้ว และทาง WordPress เองก็มีคู่มือสอนวิธีการติดตั้งอย่างละเอียด หรือจะค้นหาจากเว็บไซต์อื่นๆ ก็มีคนสอนเยอะมาก

ความต้องการ แนะนำให้ใช้ Hosting / Server ที่ติดตั้ง PHP version 7.3 ขึ้นไป และ MySQL 5.6 หรือ MariaDB 10.1 ขึ้นไป ทั้งนี้บางโฮสติ้ง อาจจะติดตั้งเวอร์ชั่นต่ำกว่าเล็กน้อย ก็ใช้งานได้ แต่แนะนำให้หาโฮสติ้งที่มีเวอร์ชั่นที่แนะนำด้านบน เพื่อความปลอดภัยของเว็บไซต์ และ ป้องกันการโดน hack

WordPress คนใช้เยอะแค่ใหน?

ในปี 2019 WordPress ครองส่วนแบ่งมากถึง 33% ของเว็บไซต์ทั้งหมดทั่วโลก กินส่วนแบ่งในตลาดเพลตฟอร์ม CMS 60% บ่งบอกถึงความนิยมในการนำเวิร์ดเพรสส์ไปประยุกต์ใช้ในเชิงธุรกิจ

ล่าสุด ปี 2020 ขยับจาก 33% เป็น 35% แล้ว อ้างอิงจากเว็บไซต์ w3techs


ในประเทศไทยเอง ความนิยมของเวิร์ดเพรสส์เองก็เยอะมากเช่นกัน  ดูได้จาก Community หรือกลุ่มคนใช้งานตามเว็บบอร์ดต่างๆ ค่อนข้างคึกคัก ฟรีแลนซ์ที่ประกาศตัวว่ารับทำเว็บไซต์ด้วย WordPress ก็เยอะ และบริษัทรับทำเว็บไซต์ ต่างก็นำเวิร์ดเพรสส์มาใช้งานในส่วนของเว็บดีไซน์ เว็บบริษัท เพราะประหยัดเวลาและต้นทุน ทำให้จบงานได้เร็วมาก

ฝั่งคนที่สอนทำเว็บไซต์ และการตลาดออนไลน์ ก็มักจะใช้ WordPress ในการเรียนการสอน  ทำให้ผู้เรียนเข้าใจการทำงานของเว็บไซต์ได้เร็ว สามารถมีเว็บไซต์สวยๆ สักเว็บได้เร็ว

WordPress.com กับ WordPress.org ต่างกันอย่างไร?

WordPress.com

เป็นเพลตฟอร์ม WordPress ที่สามารถใช้งานใช้ในการเขียนบล็อคได้ฟรี โดยมีธีม และปลั๊กอินขั้นพื้นฐาน แต่จะมีข้อจำกัดหลายอย่าง ถ้าเราอยากได้การปรับแต่งที่ซับซ้อนขึ้น มีแพคเกจตั้งแต่เริ่มต้น ฿100/เดือน จนถึง eCommerce แพคเกจในราคา 1,500/เดือน สามารถดูแพคเกจราคาที่เว็บไซต์ WordPress.com ได้โดยตรง

เว็บไซต์จะถูกรันอยู่บนโฮสติ้งของ WordPress.com มีเฉพาะรหัสระบบหลังบ้านให้ใช้ แต่ไม่มีรหัส FTP หรือรหัส Hosting ให้ใช้ หากเราต้องการปรับแต่ง หรือ Custom ไฟล์ธีมหรือปลั๊กอินไม่สามารถทำได้

WordPress.org

ระบบการทำงานทุกอย่างเหมือนกับ WordPress.com ดาว์นโหลดใช้งานได้ฟรี สามารถติดตั้งธีมทุกรูปแบบ แต่เราต้องไปหา Hosting เอง จดโดเมนเนมเอง ซื้อธีมสวยๆ เอง

หากเราเทียบดูแล้วระหว่าง WordPress.com, WorrdPress.org จะเห็นได้ว่า ตัวหลังตะยืดหยุ่นมากว่า สามารถปรับแต่งได้ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะแก้ไขธีมหรือปลั๊กอิน การเข้าถึงไฟล์ที่อยู่บนโฮสติ้ง แต่ในความเป็นจริง ถ้าเราหาซื้อธีมดีๆ สวยๆ ใน Themeforest มาติดตั้งใช้งานดู เราก็สามารถมีเว็บไซต์สวยๆ ได้เหมือนกัน โดยไม่ต้องปรับแก้ไข Code สักนิดเดียว อาศัยฟีเจอร์และความสามารถของธีม

หากใครที่เป็นมือใหม่พึ่งหัดทำเว็บไซต์ด้วย WordPress ลองตรวจเช็คดูครับว่าได้ตั้งค่า WordPress พื้นฐานครบหรือยัง 6 ขั้นตอน การตั้งค่า WordPress พื้นฐานที่จำเป็นหลังจากติดตั้งเสร็จ

Theme / Plugin

Theme

WordPress มีระบบการแสดงผลในรูปแบบต่างๆ การจัดวาง Layout ของข้อมูล เรียกรวมๆว่า Theme(ธีม) เราสามารถใช้ฟีเจอร์ของธีม ในการทำเว็บไซต์ให้ออกมาสวยงาม ซึ่งแต่ละธีม จะมีฟังก์ชันหรือลูกเล่นในการตกแต่งไม่เหมือนกัน โดยหลักๆ ธีมจะมีแบบ ธีมฟรี และแบบเสียเงิน

Free themes ธีมฟรี เบื้องต้นระบบจะแถมให้เราเมื่อเราติดตั้ง WordPress เสร็จใหม่ๆ แต่จะเป็นธีมแบบพื้นฐานมากๆ หากเราต้องการดาว์นโหลดเพิ่มเติม โหลดได้ที่ Theme Directory ของเว็บไซต์ WordPress

Paid themes เป็นธีมประเภทเสียเงิน โดยปกติจะอยู่ในราคา 30-90$ ขึ้นอยู่กับความสวยงามและฟังก์ชันการใช้งาน สามารถซื้อได้ในเว็บไซต์ต่างประเทศอย่าง Themeforest

เทคนิควิธีการซื้อธีม WordPress ใน Themeforest 

  • ดูวันที่อัพเดต ที่ผู้ขายธีมอัพเดตล่าสุดเมื่อไหร่ : บ่งบอกถึงการอัพเดตฟีเจอร์ใหม่ๆ และให้สามารถรองรับ WordPress เวอร์ชั่นล่าสุด
  • รีวิวหรือเรทติ้ง พยายามหาธีมที่มีคะแนนรีวิวหรือดาว 4ดาวขึ้นไป
  • ขายดี ธีมที่ขายดี แปลว่าคนซื้อเชื่อมั่นในคุณภาพของธีม
  • ซับพอร์ต ดูในช่อง Comment ว่าทีมงานของผู้ขายธีม มีการโต้ตอบเร็วแค่ใหน

Plugin

ปลั๊กอิน คือ ฟังก์ชันเสริมหรือส่วนเสริมของ WordPress ที่สามารถทำให้ธีม WordPress ธรรมดาๆ กลายเป็นธีมที่ครบเครื่อง ฟีเจอร์ครบทันที ซึ่งจะมีปลั๊กอินพื้นฐานที่จำเป็นต้องใช้ จนถึงปลั๊กอินเสริมฟีเจอร์ มีทั้งแบบฟรีและเสียเงิน

เช่น ถ้าจะทำเว็บไซต์ E-commerce หรือเว็ไซต์ขายของออนไลน์ ก็ต้องใช้ปลั๊กอิน Woocommerce ปลั๊กอินสำหรับทำระบบ Slider  ปลั๊กอินสำหรับแสดงปุ่มแชร์ ปลั๊กอินสำหรับสร้างระบบการจัดวาง Layout   เช่น Page Builder by SiteOrigin

WordPress ใช้งานง่ายจริงใหม?

จากประสบการณ์ของผม ที่เคยใช้งาน Joomla มาก่อน ทำให้เกิดข้อแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ผมขอสรุปสั้นๆ ว่า ถ้ามองภาพรวมสำหรับคนทั่วไปที่ไม่ได้รู้เรื่องเทคนิคมากนัก WordPress จะมีระบบหลังบ้าน การตั้งค่าต่างๆ ง่ายกว่า Joomla เยอะมาก ไม่ว่าจะเป็น การสร้างหน้าเพจ การจัดวาง Layout การตั้งค่าต่างๆ ส่วนเสิรมที่ช่วยให้เว็บไซต์ดีขึ้น มีธีมเพลตเยอะ ทำให้ทำเว็บไซต์สวยๆสักเว็บได้อย่างง่ายดาย

ในประเทศไทยเอง สถิติการใช้งานระบบ CMS เวิร์ดเพรสน่าจะมาอันดับหนึ่ง และเว็บไซต์ทั่วโลก มีการใช้ระบบ WordPress เป็นเครื่องมือ มากถึง 35% ของเว็บไซต์ทั้งหมด จากสถิติแสดงว่า WordPress ใช้งานง่าย หาคนทำได้ไม่ยาก ทำให้มีคนนิยมใช้เป็นอันดับหนึ่งของ CMS ทั้งหมด

จัดหน้า WordPress และจัดวาง Layout ขั้นเทพ ด้วย Page Builder

Page Builder คือ ปลั๊กอินของ WordPress สำหรับจัดหน้า จัด Layout ของหน้าเว็บได้อย่างง่ายดาย โดยไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ด สามารถใช้ระบบ Drag and Drop ได้เลย เราสามารถ จัดวางคอลัมน์ เพิ่มวิดเจ็ตและลูกเล่นได้อิสระ ทำให้เราออกแบบเว็บไซต์สวยงามได้ด้วยตัวเอง

Page Builder แต่ละยี่ห้อ มีคุณสมบัติ หรือ ข้อดี-ข้อเสีย แตกต่างกันออกไป แต่โดยพื้นฐานแล้ว มันถูกออกแบบให้ใช้งานง่าย และลดการเขียนโค้ดให้น้อยที่สุด เพื่อให้คนที่ไม่มีพื้นฐานด้านการเขียนเว็บไซต์ สามารถทำเว็บไซต์สวยๆ ได้ด้วยตัวเอง

Plugin Page builder ยอดนิยม

  1. Visual Composer : เป็น Page Builder ที่ธีมส่วนใหญ่ที่ขายใน Themeforest เลือกใช้ มีฟังก์ชันการทใช้งานที่ครบเครื่อง สามารถจัดวาง Layout ออกแบบเว็บไซต์ได้ทุกรูปแบบ – ต้องเสียตังค์ซื้อ

  2. Elementor : เป็น Page Builder น้องใหม่มาแรงแซงทางโค้ง ด้วยการใช้งานที่ง่าย แทบไม่ต้องเขียน CSS เพิ่มเลย เป็นปลั๊กอินที่มีคุณภาพ และออกแบบ UX ได้เยี่ยม – มีแบบฟรี และเสียตังค์

  3. Page Builder by SiteOrigin : เป็น Page Builder ที่ผมเลือกใช้มากที่สุด เพราะมันค่อนข้าง Basic มีฟังก์ชันที่เรียบง่าย ไม่หวือหวา สิ่งที่ชอบมากคือ มีระบบ Post Loop ให้เราสามารถ Custom การแสดงโพสในรูปแบบต่างๆ และรองรับการทำงานกับปลั๊กอิน Custom Post Type ได้อย่างดี ทำให้ปรับแต่งได้อิสระ – มีแบบฟรี และเสียตังค์

  4. Divi : เป็นธีมพรีเมี่ยม พัฒนาโดย Elegant Theme  เป็นธีมอเนกประสงค์ที่มีระบบ Page Builder ในตัว

  5. Beaver Builder : เป็น Page Builder อีกตัวที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน สามารถ Custom Post โดยไม่จำเป็นต้องไปแตะโค้ดของธีมใดๆ

WordPress ทำเว็บไซต์อะไรได้บ้าง?


1.เว็บไซต์บริษัท


โดยทั่วไปเว็บไซต์บริษัท มักจะมีหน้าเพจไม่เกิน 4-5 หน้า ซึ่งอาจจะมี หน้าแรก เกี่ยวกับเรา บริการ ผลงาน ติดต่อ โดยเน้นแสดงผลข้อมูลที่ถูกต้อง วาง Layout ให้สวยงาม ดูน่าเชื่อถือ การทำเว็บไซต์บริษัทด้วย WordPress เป็นเรื่องที่เหมาะมากๆ เนื่องจาก ทางเวิร์ดเพรสมีธีมและ ปลั๊กอินสำหรับการจัดการ Layout ได้ง่าย

2.เว็บไซต์ขายของออนไลน์ หรือ E-commerce


เทรนด์การซื้อขายออนไลน์ มาแรงแซงทางโค้ง เดี๋ยวนี้เวลาจะซื้ออะไรสักอย่าง ผู้คนมักจะค้นหาผ่านเว็บไซต์เป็นอันดับแรกเสมอ เพราะค้นได้เร็ว เจอเร็ว และยังมีคนรีวิวสินค้าต่างๆนาๆ ทำให้ตัดสินใจซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องขับรถไปหน้าร้านเลย

Wordprss มีปลั๊กอินชื่อ Woocommerce  เป็นปลั๊กอินสำหรับสร้างระบบขายของออนไลน์โดยเฉพาะ มีฟังก์ชันการทำงานครบครัน ตั้งแต่ระบบการจัดการสินค้า ระบบตะกร้า ระบบการชำระเงิน ระบบขนส่ง ระบบจัดการออเดอร์ ฯลฯ แค่นี้มันก็เพียงพอสำหรับทำเว็บไซต์ E-commerce ขนาดเล็ก จนถึงขนาดกลางได้สบายๆ

3.เว็บไซต์หน่วยงาน


เว็บไซต์หน่วยงานในไทย เช่น หน่วยงานราชการ เว็บไซต์โรงเรียน ค่อนข้างมีเอกลักษณ์เฉพาะ ต่างจากเว็บฝรั่งอย่างสิ้นเชิง ส่วนใหญ่ที่ได้ยินมา หน่วยงานมักจะใช้ระบบ CMS โดยเฉพาะ Joomla กับ WordPress เหตุผลเพราะมีระบบหลังบ้านใช้งานแก้ไข อัพเดตเว็บไซต์ได้ง่าย สำหรับคนที่ไม่มีความรู้เรื่องเว็บ

หลังๆผมแนะนำลูกค้าให้เลือก WordPress มากกว่า Joomla เนื่องจากผมเคยใช้งานจูมล่าก่อนเวิร์ดเพรส ทำให้เห็นข้อแตกต่างของระบบ โดยเฉพาะระบบหลังบ้านของ WordPress จะใช้งานง่ายกว่า ยืดหยุ่นมากว่า และในไทยมีคนใช้เวิร์ดเพรสค่อนข้างเยอะด้วย ทำให้เวลาเจอปัญหา หาคนมาแก้ได้ง่าย

4.เว็บไซต์สื่อออนไลน์ (เว็บไซต์ข่าว)


การมาของสมาร์ทโฟน โซเชียลมีเดีย ทำให้วิถีชิวิตของคนเราเปลี่ยนไปพอสมควร จากที่ไม่เคยใช้อินเทอร์เน็ต ก็มาใช้งาน และจดจ่อกับหน้าจอมากขึ้น ทำให้วงการสื่อรูปแบบเก่าถูกรุกราน เช่นพวก หนังสือพิมพ์ นิตยสาร สำนักพิมพ์ คนอ่านน้อยลงมาก บางสำนักถึงขั้นต้องปิดกิจการไปเลย และหลายๆสำนัก ก็เลือกที่จะปรับตัวให้เข้ากับวิถีสมัยใหม่

สำนักข่าวที่ปรับตัวได้ เริ่มปลีกตัวมาทำเว็บไซต์ข่าวออนไลน์  เพื่อตอบโจทย์นักอ่านสมัยใหม่ ที่เน้นการอ่านผ่านมือถือมากกว่า สำหรับ SME ที่มีงบไม่มาก การใช้ WordPress ทำเว็บ ถือเป็นทางออกที่ดีที่สุด เนื่องจากจ้างไม่แพง มีฟังก์ชันการทำงาน สวยหรู และมีฟังก์ชันสำหรับการแชร์

5.เว็บเรียนออนไลน์ เว็บไซต์ขายคอร์สเรียน

ยุคเทคโนโลยี 4.0 ถือเป็นยุคเปลี่ยนผ่านจากรุ่นเก่ามายังยุคล้ำๆ ที่มีเทคโนโลยีคอนโทรนเกือบจะทุกจุดของชีวิต แม้กระทั่งวงการการศึกษาในบ้านเรา หลายๆมหาวิทยาลัย หันมาพัฒนาเว็บไซต์เรียนออนไลน์ เพื่อตอบโจทย์ ให้นักเรียนนักศึกษากลับมาศึกษาย้อนหลังได้ตลอดเวลา

WordPress มีปลั๊กอินเกี่ยวกับคอร์สเรียนออนไลน์หลายตัว ที่เราสามารถพัฒนาระบบเรียนออนไลน์ได้ง่ายๆ ในงบหลักหมื่น แต่ได้ฟังก์ชันเพรียบพร้อม

6. เว็บไซต์อสัหาฯ หรือ เว็บไซต์ Property


โครงการอสังหาฯ หรือเว็บไซต์ Property ฟีเจอร์หลักๆที่ทุกเว็บสไตล์นี้ต้องมีคือ ระบบจัดการอสังหาฯ ระบบ Gallery ระบบแผนที่ ระบบการค้นหาโครงการ
สังเกตว่าเว็บไซต์แนวนี้ ส่วนใหญ่มีโครงสร้างเหมือนๆกัน จะต่างก็แค่เรื่องดีไซน์และการจัดวาง

เราสามารถหาธีมเพลตของ WordPress สไตล์เว็บโครงการอสังหาฯ ได้เยอะแยะทั่วไปในราคาไม่แพง ไม่ต้องจ้างดีไซน์มาออกแบบแพงๆ ก็สามารถมีเว็บไซต์โครงการอสังหาฯสวยๆได้

7. เว็บไซต์ประกาศฝากร้าน


เว็บไซต์ประกาศฝากร้าน มีฟังก์ชันหลักๆเช่น ระบบค้นหาธุรกิจจากหมวดหมู่ต่างๆ ระบบการแสดงโปรโมชั่นประจำร้าน แสดงข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับร้านและเกี่ยวกับธุรกิจ ระบบการจัดการโฆษณา ซึ่งเป็นฟังก์ชันไม่ได้แปลกตาอะไรมาก เราสามารถใช้ WordPress ทำเว็บไซต์ได้สบายๆ สวยอีกต่างหาก ในงบหลักหมื่นเท่านั้น ดีกว่าจ้างเอเจนซ๊่หลักแสนแต่ผลลัพธ์ออกไม่ดี

8. เว็บไซต์โรงเรียน

อย่างที่รู้กันนะครับ ว่าเว็บไซต์โรงเรียนในไทย ค่อนข้างแตกต่างจากฝรั่ง มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีเมนูด้านซ้ายและขวา มีปฏิทิน มีสไลเดอร์ บางเว็บก็มีราคาน้ำมันแถมไปด้วย ข่าวประชาสัมพันธ์ ซึ่ง WordPress มี Page Builder หรือระบบการจัดวาง Layout เจ๋งๆ สามารถจัดวาง Layout ได้อิสระมากๆ ไม่ว่าจะเว็บโรงเรียนอะไรก็ทำได้หมดครับ รองรับมือถืออีกด้วย

9. เว็บไซต์แนวครีเอทีฟ (Creative)


บางคนทำเว็บไซต์ดีไซน์ธรรมดาจืดๆไม่ชอบ ชอบแนวสร้างสรรค์ ครีเอทีฟ คูลๆ ออกแนวแปลกตา ซึ่งเว็บไซต์ประเภทนี้ WordPress ก็ทำได้เหมือนกันครับ เพียงแต่ต้องอาศัยเว็บดีไซน์เนอร์เก่งๆ ช่วยออกแบบให้ครับ

ผมยกตัวอย่างแค่ 9 ข้อเท่านั้นเองครับ จริงๆ WordPress สามารถทำเว็บไซต์ได้ทุกรูปแบบจริงๆครับ ตั้งแต่เว็บง่ายๆ จนถึงเว็บไซต์ระดับ Enterprise มีคนเข้าหลักล้านก็ยังไหวครับ แค่เราตั้งใจทำมันดีๆ เราจะประหยัดงบไปเยอะพอสมควร พร้อมด้วยรองรับการจัดอันดับบน Google หรือในวงการเค้าเรียก SEO และยังรองรับมือถือด้วย

จัดการฐานข้อมูล WordPress รับทำเว็บไซต์

ติดต่อ-สอบถาม