บทความเรื่อง Basic SEO for PR Agency นี้ตั้งใจเขียนให้เพื่อนคนหนึ่งที่เพิ่งย้ายเข้าไปทำในบริษัท PR Agency มาขอคำปรึกษา ผมเลยแชร์ไปว่า Pain Point หนึ่งในฐานะคนรับทำเว็บไซต์ว่าเราได้รับ email มาขอพื้นที่ข่าว PR เยอะมาก แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้ลงให้ไม่ใช่เพราะหยิ่ง แต่ที่จริงเป็นเพราะ Format ของเนื้อหาข่าวที่นัก PR ส่วนใหญ่ส่งมาไม่ได้ SEO Friendly หรือไม่ใช่ในแบบที่ Google ชอบ ทำให้หลายข่าวที่อาจจะดีแต่ถ้าเว็บข่าวเล็กๆ ไม่ได้ใหญ่มากอย่างผมอาจไม่ได้หยิบมาลงให้ เพราะถ้าหยิบมาลงให้ผมต้องใช้เวลาในการปรับ Format Content ที่ส่งมาให้ SEO Friendly เพราะไม่อย่างนั้นเว็บผมก็มีโอกาสเสียอันดับคะแนนได้
ดังนั้นวันนี้ผมจึงเอาเทคนิคการส่งเนื้อหาข่าว PR ให้มีโอกาสได้ฟรี PR จากเว็บเล็กๆ เช่นผมมากขึ้น ซึ่งนอกจากจะทำให้มีโอกาสได้พื้นที่ข่าวบนออนไลน์มากขึ้นแล้ว ยังทำให้คอนเทนต์ PR ของลูกค้าคุณที่ส่งมามีโอกาสติดอันดับต้นๆ ของ Google อีกด้วยครับ
ซึ่งเทคนิคทั้งหมดนี้ผมไม่ได้คิดเองเออเอง แต่เอามาจาก Yoast SEO ซึ่งเป็น Plugin ของ WordPress ที่ผมใช้อยู่ ตัวผมเองก็ไม่ได้เทพ SEO แค่มีความรู้งูๆ ปลาๆ แต่พอทำตามที่ Yoast SEO แนะนำนานวันเข้าอันดับของการตลาดวันละตอนก็ดีขึ้นเรื่อยๆ ครับ
ถ้าอย่างนั้นเราลองมาดูกันนะครับว่า Basic SEO ที่นัก PR ต้องรู้ถ้าอยากได้ Free Media มากขึ้นครับ
13 Basic SEO ที่ PR Agency ยุค Digital ควรรู้เพื่อจะได้เพิ่มโอกาสได้ Free media และมีโอกาสที่จะถูกค้นหาเจอเพราะ SEO Friendly นั่นเอง
Focus Keyword – ระบุคำที่อยากได้จากบทความนี้ไปให้ชัด เช่น บทความเรื่อง Digital Stat 2020 หรือ Toyota Camry 2020 หรือคำใดก็ตามที่คุณคิดว่าคนพิมพ์หาคำนี้แล้วควรจะเจอบทความนี้ เพราะไม่อย่างนั้นถ้าปล่อยให้เจ้าของเว็บเล็กๆ อย่างผมมาอ่าน ผมอาจจะคิดไม่ออกแล้วข้ามเนื้อหาข่าว PR ที่คุณอุตส่าห์กดส่งมาก็ได้ครับ
Keyword in title คำที่อยากได้ต้องมีอยู่ในชื่อบทความ – แน่นอนว่าหัวข้อหลักของบทความก็ต้องมีคำที่เราอยากให้คนเสิร์จเจออยู่ในนั้นด้วย และหัวข้อก็ต้องไม่ยากเกินไป เพราะจำไว้ว่าถ้ามันยาวเกินไปมันก็จะแสดงผล UX บนหน้าจอไม่ดี พอถ้ามันแสดงผลไม่ดี Google ก็จะไม่ชอบเพราะมันไม่ดีต่อประสบการณ์ของผู้ใช้
SEO Title ชื่อบทความที่ดีควรยาวระหว่าง 40-60 ตัวอักษร – จากการทดลองกับ Yoast SEO เมื่อกี๊เลยพบว่าถ้าสั้นกว่านั้นมันจะเป็นสีส้มซึ่งหมายความว่าไม่ดี แต่ถ้ายาวเกิน 60 ตัวอักษรก็จะเป็นสีแดงซึ่งไม่ดียิ่งกว่า จากประสบการณ์มักพบว่า ส่วนใหญ่ส่งกันมายาวมากประหนึ่งพารากราฟนึงเลยทีเดียว
Slug ชื่อลิงก์ของหน้าเว็บนี้ต้องมีคำที่อยากได้ – ควรระบุมาเลยว่าอยากให้บทความนี้ใช้ชื่อลิงก์ว่าอะไร และที่สำคัญต้องมีคำที่อยากจะให้คนเสิร์จแล้วเจอบทความนี้แทรกอยู่ด้วยครับ
Meta description คำอธิบายสั้นๆ ของหน้าเว็บนี้ – เวลาเราเสิร์จหาคำที่อยากรู้ใน Google เราจะเห็นคำอธิบายสั้นๆ เบื้องต้องก่อนจะกดเข้าไปที่เว็บไซต์ใช่มั้ยครับ นั่นแหละครับคือ Meta description ที่พูดถึง ตรงคำอธิบายสั้นๆ นี้จะสั้นไปก็ไม่ดี ยาวไปก็ไม่ได้ ถ้าถามว่าประมาณไหนก็ประมาณความกว้างของตัวอักษร 100-200 ตัวอักษรครับ
บทความควรยาว 300 คำเป็นอย่างน้อย – บางบทความก็สั้นเหลือหลายจนน่าตกใจประหนึ่งแคปชั่นโพสโซเชียล แต่เรื่องนี้ไม่ค่อยห่วง เพราะส่วนใหญ่เนื้อหาข่าว PR มักส่งมารายละเอียดเยอะอยู่ครับ
Keyphrase in subheading คำที่อยากได้ต้องมีอยู่ในหัวข้อย่อยด้วย – ถ้ามีหลายหัวข้อย่อยในบทความ คำที่ต้องการต้องให้คนเสิร์จเจอก็ต้องมีแรกอยู่ในหัวข้อบ้างครับ
Outbound links – ควรใส่ลิงก์ออกไปนอกบทความด้วยถ้าเป็นได้ เพราะมันจะทำให้บทความได้คะแนนดีขึ้นครับ
Keyword in introduction คำที่อยากได้ควรมีอยู่ในพารากราฟแรก – นอกจากเราจะเอาใส่ไว้ในชื่อบทความ ชื่อลิงก์ คำอธิบายย่อๆ ของบทความนี้ เราควรจะเอาคำที่เราอยากให้คนเสิร์จเจอมาใส่ในพารากราฟหรือตอนต้นของบทความด้วยครับ
Keyword length คำที่อยากได้ต้องไม่สั้นจน General เกินไป – ควรเลือกคำที่ออกไปทางเฉพาะเจาะจงหน่อยจะดี เช่น ไม่ใช่แค่ Toyota Camry แต่ควรเป็น Toyota Camry 2020 ใหม่ เป็นต้น
Keyword density คำที่อยากได้ไม่ต้องย้ำจนเยอะเกินไป – แต่ก่อนการจะให้บทความนี้ติดคำไหนต้องเอาคำนั้นใส่ลงไปในบทความเยอะๆ แต่วันนี้เราแค่เอากระจายใส่ไว้ในบทความประมาณนึง 2-4 ครั้งในบทความก็พอ เยอะเกินมันดู spam ไม่น่ารัก แต่ก็อย่าน้อยกว่า 2 และไม่ต้องเกิน 4 พอโอเคครับ ซึ่งมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับความยาวของบทความครับ
Image alt attributes ถ้าส่งรูปมากรุณาส่งคำอธิบายของรูปภาพที่มีคำที่อยากได้มาด้วย – เพราะ AI อาจจะยังอ่านบริบทในรูปภาพได้ไม่เก่งพอ (แต่จริงๆ ก็เก่งมากพอแล้วล่ะ) ดังนั้นส่วนนี้จึงเป็นการใส่คำอธิบายรูปภาพที่ไม่ได้เอาไว้ให้คนอ่าน แต่เอาไว้ให้ Bot ของ Google เข้ามาอ่านเพื่อจะได้รู้ว่าบทความนี้มีรูปอะไรบ้าง และในคำอธิบายก็ต้องมีคำที่อยากได้แทรกเข้าไปด้วย และแต่ละรูปก็ไม่ควรใช้คำที่ซ้ำเป็นชุดเดียวกันหมด แต่ควรเป็นคำที่อธิบายถึงบริบทของแต่ละรูปจริงๆ
Google ชอบพารากราฟที่ไม่ยากเกินไป – จากอีเมลที่ผมได้จาก PR Agency ส่วนใหญ่ยังคงส่งเนื้อหามาเป็นพรืดพารากราฟยาวๆ ซึ่งไม่ SEO Friendly เอาเสียเลย ดังนั้นควรจะตัดแบ่งบทความให้เป็นพารากราฟสั้นๆ แต่เยอะๆ แทน แล้วก็แทรกรูปภาพที่ควรจะอยู่เข้าไป คิดถึงง่ายๆ คุณชอบอ่านบทความแบบไหนก็ควรส่งบทความแบบนั้นไปให้ทางรับทำเว็บไซต์ต่างๆ ครับ
รับทำเว็บไซต์ WordPress เหมาะกับเว็บไซต์แบบไหน
ติดต่อ-สอบถาม