รับทำเว็บไซต์ On Page SEO บน WordPress


On Page SEO บน WordPress 14 เทคนิคที่ต้องทำ จนติดหน้าแรก

On Page SEO คือ การปรับแต่งหน้าเพจของเว็บไซต์  เพื่อ รับทำเว็บไซต์ ติดอันดับต้นๆ บน Google แน่นอนครับการทำเว็บไซต์ให้ติดหน้าแรก ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ หลายคนจึงนึกถึงการจ้างกูรูหรือบริษัทที่เชี่ยวชาญด้าน SEO มาช่วยทำให้ แต่ก็ต้องแลกด้วยค่าจ้างที่แสนแพง  ในบทความนี้ผมจะมาสอนทำ SEO แบบฉบับที่ใครๆ ก็ทำได้ด้วยตัวเองที่บ้าน

ในบทความนี้เราจะพูดถึงขั้นตอนการทำ On Page SEO เริ่มตั้งแต่ปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นมากๆ สำหรับเว็บไซต์ที่ต้องการติดอันดับหน้าแรก  การหา Keyword ที่มีคุณภาพ เทคนิคการจัดวาง Keyword ในตำแหน่งที่เหมาะสมถูกต้องตามหลัก และการส่ง Sitemap ของเว็บไซต์ให้ Google เพื่อมาเก็บข้อมูลในการจัดอันดับ รับทำเว็บไซต์

ปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นต่อการทำ SEO

1. Responsive Web


Responsive Web คือเว็บไซต์ที่แสดงผลได้ทุกหน้าจอ โดยใช้หลักการ Mobile-First จากสถิติที่ผมสังเกตใน Google Analytics เห็นได้ชัดว่า คนเปิดเว็บผ่านมือถือเยอะขึ้น บางเว็บแซงหน้าการเปิดบนคอมฯเรียบร้อย

ทำให้เว็บที่ยังไม่รองรับมือถือ อาจจะเสียลูกค้าบางส่วนไป เพียงเพราะเปิดในมือถือแล้วอ่านตัวหนังสือไม่ออก หรือต้องซูมเข้าออกตลอดเวลา

ผมขอยกตัวอย่างผลกระทบต่อเรื่อง SEO ง่ายๆ สมมติ มี 2 เว็บไซต์คือ A:รองรับ, B:ไม่รองรับ เว็บไซต์ที่เหมือนกันทุกอย่าง ยกเว้นการรองรับมือถือ นาย ก  ค้นหาข้อมูลในกูเกิลโดยใช้มือถือ แล้วไปเจอเว็บ A,B กูเกิลจะแสดงเว็บไซต์ A เป็นอันดับแรก เนื่องจากเว็บไซต์เอ รองรับมือถือนั้นเองครับ

ปี 2019 นี้ ใครที่ รับทำเว็บไซต์ รูปแบบเก่าอยู่ น่าจะเริ่มปรับเว็บไซต์ให้รองรับมือถือได้แล้วนะครับ คิดซะว่าเพื่ออนาคต

2. เว็บต้องโหลดเร็ว


“ต้องเร็วแค่ใหนถึงจะเรียกกว่าเร็ว” เบื้องต้นเราสามารถวัดได้ด้วยความรู้สึก เวลาเข้าเว็บไซต์ ว่าช้าหรือเร็ว แต่กูเกิลได้ทำตารางเปรียบเทียบประสิทธิภาพความเร็วของเว็บไซต์ ให้เราเทียบได้ว่า กี่วินาทีถึงจะเร็ว กี่วินาทีเรียกว่าช้า


นี่คือตารางเปรียบเทียบง่ายๆ ถ้าอยู่ในระดับ 3-5วิ จะดีมากครับ  ถ้าเว็บไซต์ช้า มันส่งผลต่อประสบการณ์ของผู้เข้าเว็บโดยตรงครับ (User Experience) ยิ่งหน้าเว็บโหลดช้าเท่าไหร่ ก็ยิ่งเพิ่มอัตราการตีกลับมากขึ้น (Bounce rates : อาจจะเกิดจากคนที่เข้ามาในเว็บแล้วรอช้าไม่ได้ก็เด้งออกไปก่อน ยิ่งอัตราการตีกลับมี % มาก ก็ยิ่งมีผลเสียต่อ SEO ครับ)

3 เครื่องมือที่ผมใช้ในการเช็คความเร็วเว็บไซต์

  1. GTetrix
  2. Pingdom Tools
  3. PageSpeed Insights

แต่ความจริงแล้ว เว็บไซต์จะเร็วได้ มันมีหลายปัจจัย ผมขอแบ่งเป็น 2 ปัจจัยใหญ่ๆ คือ

  • ตัวเว็บไซต์
  • เว็บโฮสติ้ง (Hosting)

ตัวเว็บไซต์
จุดที่เป็นสาเหตุของการโหลดช้า มีหลายจุดสำคัญ สาเหตุหลักๆ มาจาก รูปภาพที่ไม่ได้ถูกบีบอย่างถูกต้องคำแนะนำของผม คือ อันดับแรก ควรปรับ Size รูปภาพให้มีขนาดเท่ากับที่แสดงในหน้า รับทำเว็บไซต์ ไม่ควรใหญ่เกินไป ไม่ควรเกิน 1920px และตามมาด้วยการบีบรูปภาพ 5 เครื่องมือฟรี ช่วยบีบรูปภาพให้เบา

เว็บโฮสติ้ง (Hosting)
การเลือกประเภทโฮสติ้งก็สำคัญไม่แพ้กัน หลายท่านอาจจะเลือกเพราะราคาถูกอย่างเดียว แนะนำให้มองไปที่คุณภาพด้วยครับ กรณี WordPress ก็ควรใช้โฮสติ้งประเภท  WordPress Hosting โดยเฉพาะ เพราะมันถูกปรับจูนให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของเวิร์ดเพรส ให้ทำเว็บไซต์โหลดเร็วยิ่งขึ้น หากมีงบหลักร้อย ถึงหลักพันต้นๆ แนะนำให้เลือกโฮสไทยอย่าง Ruk-Com

แต่ถ้าเน้นคุณภาพดี เร็วกว่าโฮสติ้งไทยๆ ก็คงต้องโฮสต่างประเทศประเภท Managed WordPress Hosting ที่ผมใช้อยู่ของเจ้า SiteGround เร็วกว่าโฮสติ้งไทยอย่างเห็นได้ชัด ที่สำคัญทีมงานเก่งแก้ไขปัญหาได้ไวมาก ราคาเริ่มต้นแค่ 3.95$/เดือน (ลดราคาเกือบ 70% สำหรับปีแรก)

3.SSL (https)


SSL หรือ https เป็นมาตรฐานในการรับ-ส่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ข้อมูลที่ส่งนั้นถูกเข้ารหัสเพื่อความปลอดภัยของข้อมูล

https จะส่งผลโดยตรง 2 อย่างคือ ความปลอดภัย  และความน่าเชื่อถือ

HTTPS จริงๆ ไม่ได้เป็นปัจจัยหลักในการจัดอันดับ SEO แต่ก็มีผลบ้าง ใครที่ติดตั้งระบบ SSL หรือ https จะเป็นเว็บที่น่าเชื่อถือมากกว่า มีความปลอดภัยมากกว่า ส่งผลให้อันดับดีกว่าที่ไม่มี https โดยเฉพาะเว็บไซต์ขายของออนไลน์อย่าง e-commerce ควรติดตั้งเป็นอย่างมาก เพราะจะมีระบบพวก Payment เข้ามาเกี่ยวข้อง จำเป็นต้องมีความปลอดภัยมากขึ้น สังเกตเวลาเข้าเว็บไซต์ผ่านเบราเซอร์ ที่มุมบนซ้าย ถ้ามี https จะเขียนว่า ปลอดภัยสีเขียวๆ  ถ้าไม่มี https จะเขียนว่า ไม่ปลอดภัยสีแดงๆ

SSL มีหลายระดับนะครับ ลองศึกษาดูว่า แบบใหนที่เหมาะสมกับเว็บไซต์ของคุณ มีตั้งแต่แบบฟรีจนถึงหลักหลายหมื่น

แชร์โฮสติ้งในไทยก็มี Let’s encrypt หรือ SSL แบบใช้ได้ฟรีๆ หากตั้งค่าเองไม่เป็น ก็ลองถามบริษัทโฮสติ้งที่เช่าครับ

การทำ On Page SEO บน WordPress

1. เทคนิคการหา Keyword

เทคนิคการหา Keyword ถ้าเทียบง่ายๆ คือ การหาทำเลทำมาค้าขาย ถ้าเราได้ทำเลดีๆ คนผ่านไปมาเยอะ ที่จอดรถง่าย แน่นอนว่าเราได้เปรียบกว่าคู่แข่งแน่นอน เช่นเดียวกันกับการตลาดในโลกออนไลน์ เราต้องหา Keyword ที่มีการค้นหาสูงและอัตราการแข่งขันต่ำการได้ Keyword ที่มีคุณภาพมาทำ SEO ส่งผลให้อันดับบนกูเกิลดีขึ้นตามไปด้วย เพราะคีย์เวิร์ดที่เราเลือก ตรงกับคำที่ผู้คนใช้ค้นหา ช่วยให้เราประหยัดงบโฆษณาพอสมควรปัจจุบันมีเครื่องมือการหา Keyword ที่มีคุณภาพหลายตัวหลายยี่ห้อ  ผมจะสรุป 4 ข้อที่ผมเลือกใช้ประจำ

  1. Google Keyword Planner
  2. Kwfinder
  3. Google Trends
  4. Google suggest

ถ้าใครอยากรู้ว่าแต่ละเครื่องมือทำงานยังไง แนะนำให้ไปอ่านบทความที่ผมเคยเขียนในเว็บ Dulaeweb.com  เทคนิคหา Keyword คุณภาพให้กับเว็บไซต์ [SEO Tips]

2. Focus Keyword

Focus Keyword  แปลตรงๆ คือ Keyword หลัก หรืออาจจะเรียกว่า Main Keyword ก็ได้ ที่ใช้ในการทำ SEO ซึ่งกำหนดแค่ 1 คีย์ เช่น สมมติเราจะเขียนบทความเรื่อง “ทำเว็บไซต์ E-commerce ด้วย WordPress” Focus Keyword อาจจะเป็น “ทำเว็บไซต์ E-commerce”  เราก็จะใช้ Focus Keyword ในการกระจายการกระจาย Focus Keyword ไม่ควรเกิน 5% ของข้อความทั้งหมด ให้เลือกแค่คีย์เดียวต่อหนึ่งบทความ และกระจายคีย์เวิร์ดหลักอย่างเหมาะสม( Keyword density ไม่เกิน 5%)  ทำไม Focus Keyword จึงสำคัญ? เพราะกูเกิลจะได้เข้าใจว่า บทความของเรากำลังพูดถึงเรื่องอะไรกันแน่ จะได้จัดอันดับได้ถูกต้องตามความประสงค์ของเรา แต่ขอย้ำว่า ห้ามใส่ Focus Keyword หลักบ่อยเกินไป เพราะกูเกิลอาจจะมองว่าเราพยายามสแปม เพื่อเร่งอันดับใน WordPress ผมใช้ปลั๊กอิน YOAST SEO ในการทำ On-Page SEO


ในช่อง Focus Keyphrase ให้ใส่ Keyword หลัก 1 ตัว แนะนำให้ทำตามข้อ 1 ก่อน เพื่อหาคำที่มีการค้นหาเยอะจริงๆ เทคนิคการหา Keyword

3.Tag Title


Title tag คือชุดข้อความที่แสดงในส่วนชื่อของหน้าเพจหรือแท็บของเว็บเบราเซอร์ และจะแสดงบรรทัดแรกหรือส่วน Head ในหน้าผลลัพธ์การค้นหาในกูเกิล(SERPs) มีความสำคัญเป็นอับดับต้นๆ ของการทำ On-Page SEO ควรเขียนให้มีคุณภาพที่สุด ซึ่งจะแสดงให้เราเห็น 2 จุดคือ ผลลัพธ์จากการค้นหาใน Goolge และ ที่แท็บของเว็บเบราเซอร์

ผมขอสรุปวิธีการเขียน Tag Title สั้นๆ ดังนี้ครับ

  • ความยาว : ไม่ควรยาวเกิน 70 อักขระ และไม่ควรสั้นเกินไป  ถ้าใช้ Yoast SEO Plugin เขียน title tag ให้ขึ้นเขียวๆ
  • Keyword  : ควรมี Keyword อยู่ใน tag title ด้วย ยิ่งอยู่ช่วงต้นก็ยิ่งดี แต่อย่าพยายามใส่ Keyword ที่ต้องการเน้นหลายชุดเกินไป เช่น “รองเท้า, รองเท้าถูก, รองเท้าแตะ, รองเท้าลดราคา”
  • เขียนให้เป็นธรรมชาติ : พยายามเขียนให้คนอ่านง่าย อ่านแล้วอยากคลิกเข้าไปอ่านทันที

ปลั๊กอิน Yosat SEO ของ WordPress มีข้อดีอย่างนึงคือ เวลาเราเขียนสั้นไป มันจะขึ้นสีส้ม ถ้าเขียนกำลังดำ จะเป็นสีเขียว  ถ้าเขียนยาวเกินไป จะเป็นสีแดง แนะนำว่า ให้เขียนอยู่ในกรอบสีเขียวจะดีที่อยู่ เพราะถ้ายาวเกินไปก็ไม่มีประโยชน์อะไร

ไม่ควรทำแบบนี้เด็ดขาด!

  • เขียน Tag Title ที่ไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูลในหน้านั้นเลย
  • เขียน Tag Title ซ้ำกันทุกหน้า หรือเขียนเหมือนกันเปะ
  • เขียนยาวเกินไป : ไม่จำเป็นเลย เพราะกูเกิลจะแสดงเท่าที่กำหนดเท่านั้น

4. Meta Descriptions

Meta Descriptions เป็นคำอธิบายสำหรับหน้าเพจนั้นๆ เป็นการเขียนสรุปสั้นๆ ไม่เกิน 2 บรรทัด ซึ่งมันจะถูกแสดงในหน้า SERP หรือหน้าผลลัพธ์การค้นหาของ Google

การเขียน Meta Descriptions ที่ถูกต้อง ทำให้กูเกิลเข้าใจภาพรวมได้ว่า หน้าที่เรากำลังพูดถึง เกี่ยวกับอะไร ควรเขียนข้อความที่กระชับ เข้าใจได้ง่ายๆ และดึงดูดให้น่าคลิกเข้าไปอ่าน

  • ความยาว : ไม่ควรยาวเกิน 300 อักขระ และไม่ควรสั้นเกินไป  ถ้าใช้ Yoast SEO Plugin เขียน Meta Descriptions ให้ขึ้นเขียวๆ ถ้ายาวกว่า่นี้ กูเกิลจะไม่แสดงให้เราอยู่ดี
  • Keyword  : ควรมี Keyword อยู่ในMeta Descriptions ด้วย ยิ่งอยู่ช่วงต้นก็ยิ่งดี แต่อย่าพยายามใส่ Keyword ที่ต้องการเน้นหลายชุดเกินไป เช่น “รองเท้า, รองเท้าถูก, รองเท้าแตะ, รองเท้าลดราคา”
  • เขียนให้เป็นธรรมชาติ : พยายามเขียนให้คนอ่านง่าย อ่านแล้วอยากคลิกเข้าไปอ่านทันที

5.Image alt attributes

ALT เป็นคำอธิบายของรูปภาพในหน้าเว็บ จะแสดงในรูปแบบ HTML ควรเขียนให้สื่อความหมายที่สอดคล้องกับรูปภาพ เนื่องจาก Google จะมองไม่เห็นว่ารูปเราหน้าตายังไง สวยหรือเปล่า กูเกิลจะอ่านแค่ แท็ก ALT ของรูปภาพเท่านั้น หากเราไม่ได้เขียนคำอธิบายของรูปภาพ หรือไม่ได้ใส่ Keyword ประกอบ โอกาสที่รูปเราจะติดอันดับการค้นหาก็น้อยมาก

All attributes มีความสำคัญมากในเรื่องการทำ SEO มันช่วยให้เราได้ทราฟฟิคจากการค้นหาด้วยรูปภาพไม่มากก็น้อย


นี่คือตัวอย่างที่ผมทำ SEO กับบทความที่เขียนลงในที่นี่เว็บ ผมลองค้นหาคำว่า “Joomla 2 ภาษา” กูเกิลจะแสดงรูปภาพจากเว็บผมเป็นอันดับที่ 1 เพราะผมได้เขียนอธิบายรูปภาพ และใส่ Keyword ประกอบด้วย

วิธีกำหนด ALT ในเว็บไซต์ที่ทำด้วย WordPress   


ใน WordPress สามารถใส่ ALT ตอนอัพโหลดรูปภาพ ด้านขวามือจะมีช่อง “Alt Text” ควรเขียนคำอธิบายที่กระชับ เข้าใจได้ง่าย และควรมี Keyword ประกอบ ด้วยจะดีมาก จะช่วยดันรูปภาพของเราให้ติด SEO ได้เร็วขึ้นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง 

  • ไม่ควรตั้งชื่อรูปที่ไม่มีความหมายเช่น  DCIM1, file.jpg, aaa.png
  • พยายามสแปม Keyword ในแท๊ก ALT Attributes เช่น “ทำเว็บ,​ทำเว็บ WordPress, รับทำ WordPress”
  • เขียนชื่อรูปภาพยาวมาก *แนะนำให้เขียนให้กระชับและเข้าใจได้ง่าย

6.ใส่ Keyword ใน paragraph แรก


ทำไมการใส่ Keyword ในพารากราฟแรกจึงสำคัญ? โดยธรรมชาติ ไม่ว่าเราอ่านหนังสือ หรืออ่านหน้าเพจบนเว็บไซต์ในสิ่งที่เราสนใจ เรามักจะอ่าน หัวข้อหลัก หัวข้อย่อย และพารากราฟแรกหรือประโยคแรก เพราะมันเป็นกุญแจที่จะบอกคนอ่านว่า บทความนี้น่าสนใจหรือไม่ การที่เราใส่ Keyword ในพารากราฟแรก บ่งบอกว่า เนื้อหาในพารากราฟถัดไป จะพูดถึงเกี่ยวกับอะไร แต่ควรหลีกเลี่ยงการพยายามใส่ Keyword มากเกินไป จนกูเกิลจะมองว่าเป็นพวก สแปมคีย์เวิร์ด

7. Internal links – เชื่อมโยงลิงค์ภายในเว็บให้ถูกวิธี

Internal links คือ การลิงค์ภายในเว็บด้วยกัน เชื่อมโยงไปยังหน้าต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นธรรมชาติ ทำให้ Google ทราบว่าในเว็บเราเนี่ย ยังมีบทความอื่นๆ อีกนะ ช่วยไปเก็บข้อมูลให้หน่อย  หากเราสร้างลิงค์ที่น่าสนใจ ก็จะช่วยให้ผู้อ่าน อยู่ในเว็บไซต์เราได้นานขึ้น ยิ่งนานก็ยิ่งทำให้อันดับ SEO บนกูเกิลดีขึ้นตามๆไปครับ


จากรูป ผมไฮไลค์สีเขียวสำหรับลิงค์ เพื่อให้เป็นจุดสังเกตได้ง่ายขึ้น แนะนำว่าอย่าพยายามสร้าง Internal links มากเกินไปถ้าไม่จำเป็น เพราะอาจทำให้ Google มองว่าเราพยายามสแปมอยู่ก็ได้ฉะนั้นควรอยู่ในระดับพอดิบพอดี ถึงแม้บางท่านฉลาดมาก สร้างลิงค์เยอะๆ แล้วทำสีเดียวกันกับข้อความปกติ ทำให้เรามองไม่ออกว่าเป็นลิงค์ แต่อย่าลืมครับว่า กูเกิลตาบอดแต่กูเกิลสามารถอ่านจาก html ได้ครับสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง

  1. เขียนชื่อลิงค์(anchor text) ด้วยคำทั่วไปเช่น อื่นๆ , คลิกที่นี่!, บทความดีๆ  : ควรใช้คำที่สื่อความหมายกับหน้าที่จะลิงค์ไป
  2. ชื่อลิงค์(anchor text) ยาวเกินไป : ควรใช้ชุดคำที่กระชับ
  3. ลิงค์ไปยังหน้าที่ไม่เกี่ยวข้อง
  4. ต้องให้คนอ่านรู้ว่านี่คือลิงค์นะ : อาจจะใช้สีให้ต่างจากข้อความธรรมดา
  5. อย่า! พยายามใช้สีลิงค์ให้เหมือนข้อความธรรมดา

8.External links – ลิงค์ภายนอก

เป็นรูปแบบลิงค์ที่ลิงค์จากเว็บไซต์เราไปยังเว็บอื่นๆ สำหรับระบุแหล่งอ้างอิงหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ เรื่องที่เรากำลังเขียนอยู่การทำ External links ควรเขียนให้เป็นไปตามท้องเรื่องจะดีที่สุด ต้องลิงค์ไปที่เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องหรือ Keyword ที่เรากำลังพูดถึง หากเราลิงค์ไปยังเว็บไซต์ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรากำลังเขียน Google อาจจะมองว่าเราพยายามสแปม ซึ่งไม่ดีต่อ SEO แน่ๆยกตัวอย่างเช่น สมมติผมกำลังเขียนบทความ พื้นฐานการใช้งาน WordPress และการตั้งค่า SEO ซึ่งระหว่างที่ผมกำลังอธิบายนั้น อาจจะมีประโยคนึงที่เกี่ยวข้องกับบทความ เช่น “เทคนิควิธีการหา Keyword คุณภาพ” และผมก็ลิงค์ไปยังอีกเว็บไซต์นึง เพื่อเป็นการอธิบายเพิ่มเติมถ้าเราทำลิงค์ดีๆ มีคุณภาพ ผมมั่นใจว่า อันดับ SEO ของเว็บไซต์เรา ดีขึ้นไม่มากก็น้อยครับ

9.เขียน URL ให้กระชับ

URL ของหน้าเพจ หรือบทความ ควรเขียนให้สั้น กระชับ เข้าใจได้ง่ายในสมัยก่อนมีคนแนะนำให้เขียนยาวๆ จะได้แทรก Keyword หลายๆคำได้ แต่ปัจจุบัน เทคนิคหรือหลักการได้เปลี่ยนไปแล้ว เราต้องเขียน URL ให้อยู่ภายใต้หลักการ Friendly URLsตัวอย่างเช่น บทความนี้ผมพูดถึงเกี่ยวกับ วิธีทำ Onpage-SEO ผมจึงเขียน URL ว่า  teeneeweb.com/on-page-seo อ่านแล้วเข้าใจได้ว่า เป็นบทความเกี่ยวกับอะไรใน WordPress ส่วนที่เป็น URL ต่อท้ายชื่อโดเมน จะเรียกว่า Slug

10. กำจัด Duplicate Content

Duplicate Content  แปลกันง่ายๆ คือเนื้อหาซ้ำ เนื้อหาเหมือนกันที่ปรากฏหลายที่ ซึ่งอาจจะเกิดจากการที่เราไป Copy บทความเค้ามา หรือเราจงใจสร้างบทความที่คล้ายๆ กัน เพื่อหวังอันดับบนกูเกิลดีขึ้น

Duplicate Content มี 2 รูปแบบหลักๆ อย่างแรกเนื้อหาซ้ำภายในเว็บไซต์เราเอง และซ้ำกับเว็บไซต์อื่นๆ

ถึงแม้ว่า Google จะไม่มีบทลงโทษที่แน่นอน แต่มันก็กระทบต่ออันดับเว็บไซต์เราบนกูเกิลในแง่ลบ ฉะนั้นไม่ควร

วิธีแก้ไขปัญหา Duplicate Content สามารถแก้ได้ด้วย 301 redirect และการทำ Rel=”canonical” ซึ่ง Yoast SEO  ปลั๊กอินของ WordPress ได้เตรียมฟังก์ชันนี้ให้ใช้งานอยู่แล้วครับ

11. Image Optimization เพื่อให้เว็บโหลดเร็วขึ้น

การใช้รูปภาพประกอบในบทความ เป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจสิ่งที่เราพูดถึงได้ดียิ่งขึ้น และช่วยเสริม SEO ด้วย

แต่ถ้ารูปที่เราใช้นั้นมีขนาดใหญ่และหนักเกินไป ก็อาจส่งผลเสียตามมา เช่น หน้าเพจโหลดช้าถึงช้ามาก ทำให้ผู้อ่านรอไม่ไหว ปิดหน้าเพจออกไปหาเว็บไซต์อื่นๆ  ซึ่งอาจจะส่งผลต่อทำให้เกิดอัตราการตีกลับ( Bounce rate ) เพิ่มขึ้น ส่งผลเสียต่ออันดับ SEO ของเว็บไซต์เรา

ถ้ารูปที่แสดงจริงๆ มีขนาด 350px  X  450px  ก็ควรทำภาพขนาดเท่านี้จริงๆ ไม่ใช่เอารูปขนาด 2,000px มาใส่ ทำให้เกินความจำเป็น

บีบน้ำหนักของรูปภาพให้เบาลง ส่วนใหญ่ผมจะใช้เว็บไซต์  tinyjpg.com  สำหรับบีบรูปภาพให้เบาลง แต่คุณภาพแทบจะเหมือนเดิม


12. หลีกเลี่ยง 404 หรือลิงค์เสีย

หากเราทำเว็บไซต์มาเป็นระยะเวลานาน อาจจะมีบางลิงค์หรือบางหน้าที่เราได้เปลี่ยน URL หรือลบทิ้งไป มันเป็นสาเหตุของการเกิด 404

ถ้าดูใน Google Search Console ตัวใหม่  ไปที่เมนู “ความครอบคลุม”  แท็บรายละเอียด ระบบจะมีบอกว่าเว็บไซต์เรามี Error อะไรบ้างที่ควรแก้ไขเป็นการด่วน ซึ่งระบบจะแยกชัดเจน ว่าเป็น error เกี่ยวกับอะไร เช่น 404, 5xx เป็นต้น

สังเกตที่คอลัมน์สถานะ จะมีหัวข้อเขียนชัดเจนว่าเป็น ข้อผิดพลาด


13.โครงสร้างของ Content

การเขียน Content ที่ดี ก็เหมือนการที่เราเขียนเพื่อให้เราอ่านเองนั้นแหละครับ ต้องอ่านง่าย เข้าใจง่าย มีการแบ่งเป็นพารากราฟ เพื่อไม่ให้บทความยืดยาวและน่าเบื่อเกินไป

จุดใหนเป็นจุดที่สำคัญ อาจจะไฮไลค์ด้วย เส้นใต้ ตัวหนา ตัวเอียง

ถ้าอยากให้บทความเราติดหน้าแรกได้เร็วขึ้น ควรเขียนเนื้อหาให้ยาวอย่างต่ำ 300คำ ขึ้นไป ไม่ควรโฟกัสที่ปริมาณอย่างเดียวครับ จนลืมเรื่องคุณภาพของเนื้อหา จำไว้ว่า “คุณภาพเหนือปริมาณเสมอ” หรือ “Content is King” เพราะสุดท้ายสิ่งที่ visitor ต้องการคือเนื้อหาที่มีคุณภาพ

ควรมีรูปภาพประกอบด้วย เพื่อความเข้าใจเพิ่มขึ้น และช่วยให้บทความเราติดอันดับในส่วนของ การค้นหาด้วยรูปภาพ  แต่อย่าลืมเขียนคำอธิบายรูปภาพด้วยนะครับ(ALT)

14. ใส่ Keyword ในแท็ก H1, H2, H3

การประยุกต์ใช้แท็ก HTML อย่าง H1 – H6  มีผลกับอันดับพอสมควร สมมติถ้าเราไม่ได้มองในแง่ SEO หรือ Rangking บนกูเกิล

ลองมองในแง่ User Experience ถ้าเราประยุกต์ใช้แท็ก H1 – H6 อย่างถูกต้อง จะเกิดอะไรขึ้น?

โดยพื้นฐานของธีมเว็บไซต์ โดยเฉพาะ Theme WordPress ส่วนใหญ่แล้วคนที่พัฒนาธีม ส่วน่ใหญ่จะกำหนดขนาดฟ้อนต์ของ H1 – H6 ใหญ่ – เล็ก ตามลำดับ หัวข้อที่สำคัญที่สุด เราใช้ H1, หัวข้อรองลงมาใช้ H2  และ หัวข้อย่อยกว่านั้น ใช้ H3

มันทำให้ประสบการณ์ในการอ่านบทความของเราดีขึ้น ช่วยให้คนอ่านเข้าใจมากขึ้นว่า บรรทัดใหนสำคัญ

หากมองในแง่ SEO การใส่ Keyword ประกอบในหัวข้อสำคัญๆ เช่น H1, H2, H3 ช่วยให้กูเกิลเข้าใจภาพรวมของบทความเราได้ ว่าพารากราฟถัดไป เราจะถูกถึงเรื่องอะไรต่อไป

ฉะนั้นแล้ว ถ้าต้องการอันดับ SEO ดีๆ อย่าลืมที่จะให้ความสำคัญกับการเรียงลำดับความสำคัญของหัวข้อต่างๆ เพื่อให้ผู้อ่าน และ Bot เข้าใจได้ง่ายขึ้น

ติดหน้าแรก google ฟรี รับทำเว็บไซต์

ติดต่อ-สอบถาม