เว็บไซต์ WordPress ปี 2022 ต้องมีอะไรบ้าง? [เช็คทีละข้อ]
ปี 2020 เป็นอีกปีที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกี่ยวกับเว็บไซต์ เข้ามาตลอดเวลาแทบจะทุกวัน ฝั่ง WordPress ล่าสุดพึ่งปล่อย WordPress 5.6 ไป บ่งบอกว่ามีการอัพเดตตัวเองไม่หยุดเช่นกัน รับทำเว็บไซต์
สำหรับ “เว็บไซต์ WordPress ปี 2022” เรามาเช็คด้วยกันทีละข้อ ว่าควรปรับปรุงจุดไหนกันบ้าง
จากประสบการณ์ที่ผมรับงานทำเว็บให้ลูกค้า ยังมีเว็บไซต์ที่ทำด้วย WordPress อีกเยอะ ที่ยังเป็นรุ่นเก่า ไม่รองรับมือถือ (Responsive), ออกแบบมาไม่ดี, ปัญหาเว็บโหลดช้า ฯลฯ ซึ่งไม่ว่าจะทำเว็บเอง หรือ จ้างทำ อย่างน้อยก็ควรเช็คตามหัวข้อที่ผมแนะนำ เพื่อให้เว็บไซต์มีคุณภาพ และช่วยธุรกิจได้มากที่สุด
1. รองรับมือถือ (Responsive Web)
Responsive Web คือ การ รับทำเว็บไซต์ ให้รองรับการเปิดในหลายอุปกรณ์ ทำให้การแสดงผลใน Desktop, Mobile, Tablet จะยืดหยุ่นไปตามขนาดหน้าจอ โดยที่ข้อความและรูปภาพ ยังคงชัดในทุกหน้าจอ ไม่ต้องซูมเข้าออกเพื่ออ่าน
เว็บไซต์ที่ไม่รองรับมือถือ เวลาเปิดกับมือถือ เราจะเห็นข้อความเล็กมาก จนต้องซูมเข้า-ออก เลื่อนซ็าย-ขวา ตลอดเวลา ทำให้เราอ่านยากมาก
เว็บไซต์ที่ทำด้วย WordPress ส่วนใหญ่ Theme รองรับ Responsive ทั้งหมดแล้ว
การท่องเว็บไซต์ผ่านมือถือ กลายเป็นเรื่องธรรมดาในตอนนี้ จากสถิติคนเข้าเว็บผ่านมือถือ เกิน 50% ไปแล้ว และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต
Google ประกาศชัดแล้วว่า ในเดือน “มีนาคม 2021” เว็บไซต์ที่ไม่รองรับมือถือ จะไม่ถูกจัดอันดับอีกต่อไป ตามหลัก Mobile-First Indexing อ่านเพิ่มเติม
เตรียมตัวสำหรับ Mobile-First Indexing
“Content” ต้องแสดงผลให้เหมือนกัน ทั้งใน Desktop และ Mobile ตามหลัก Mobile-first indexing ระบบจะเก็บข้อมูลอ้างอิงข้อมูลในมือถือเป็นหลัก ถึงแม้ว่าเว็บเราเป็นแบบ Responsive แล้ว แต่ถ้ามีข้อมูลบางส่วนเราแสดงเฉพาะใน Desktop โดยซ่อนใน Mobile หมายความว่า Google จะจัดอันดับเฉพาะที่เห็นในมือถือเท่านั้น
“Lazy-loading” ถ้าแปลตามตรงก็น่าจะเป็น การโหลดแบบขี้เกียจ ^-^ คือ มันจะโหลดภาพและวิดีโอเมื่อเรา scroll ไปถึง ทำให้เบราเซอร์ไม่ต้องโหลดทั้งก้อน โหลดแค่บางส่วนมาก่อน ทำให้การโหลดเว็บไซต์ไวขึ้น ตอนนี้และปีหน้า เราน่าจะได้ยิน Lazy-loading บ่อยขึ้นเรื่อยๆ เพราะมันจะกลายเป็นมาตรฐานที่ทุก รับทำเว็บไซต์ ควรใส่ไว้
WordPress 5.5 ได้บรรจุฟีเจอร์ Lazy-loading มาให้เป็นฟังก์ชันพื้นฐานให้เรียบร้อย แต่ถ้าใช้พวกปลั๊กอินเสริม ก็น่าจะมีฟีเจอร์นี้เช่นกัน
“Images” ตรวจสอบให้แน่ใจว่า รูปภาพที่เราใส่ในเว็บไซต์ เวลาเปิดใน Mobile ภาพมีความคมชัด และขนาดไม่เล็กเกินไป เพราะถ้าภาพเราคุณภาพต่ำและเล็ก (Low-quality) อาจจะไม่ถูกแสดงใน Google Images
13 Basic SEO Friendly ที่ PR Agency ยุค Digital รับทำเว็บไซต์
ติดต่อ-สอบถาม